ที่มาและความสำคัญ
“การรู้คิด” มาจากคำกริยาในภาษาลาตินว่า cognosco แปลว่า ความรู้ (knowledge) หรือการตกผลึกเป็นแนวความคิด (conceptualization) หมายถึง กระบวนการทางสมอง (mental process) หรือกระบวนการที่สมองมีปฏิสัมพันธ์กับข้อมูลสารสนเทศต่างๆ การศึกษาความรู้ด้านการรู้คิด มีมานานตั้งแต่สมัยโบราณมากกว่า 23 ทศวรรษ เช่น Aristotle นักปรัชญากรีก ศึกษาการทำงานของจิต (mind) ว่า มีการทำงานอย่างไร และมีอิทธิพลต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์อย่างไร โดยมุ่งศึกษาในด้านความจำ การรับรู้ และการคิดภาพในสมอง หรือการจินตนาการ เป็นต้น
การรู้คิดเป็นรูปแบบ (pattern) ของการรู้เรื่องต่างๆ ซึ่งเกิดจากกระบวนการทางสติปัญญา เช่น การรับรู้ การจำ การให้ความสนใจ การใช้ภาษา การคิด การวางแผน การตัดสินใจ เป็นต้น นอกจากนี้ การรู้คิดยังเป็นกระบวนการเรียนรู้ของสมอง เพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจ โดยใช้กระบวนการรู้คิดของสมอง (cognitive process) ซึ่งเป็นกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับการรับรู้ข้อมูลต่างๆ จากประสาทสัมผัสของร่างกาย แล้วมีการคิดในลักษณะต่างๆ เพื่อให้เข้าใจข้อมูลเหล่านั้น เช่น การคิดวิเคราะห์ การให้เหตุผล การตัดสินใจ การแก้ปัญหา การวางแผน เป็นต้น
การรู้คิดเป็นสิ่งที่ทรงพลังอย่างมากที่ทำให้มนุษย์สามารถเรียนรู้สิ่งต่างๆ และนำสิ่งที่ได้เรียนรู้เหล่านั้นมาใช้ในการดำรงชีวิตได้ด้วยตนเองอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งแต่ละบุคคลจะมีพัฒนาการด้านการรู้คิดที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับการฝึกอบรมเลี้ยงดู สิ่งแวดล้อม และประสบการณ์ต่างๆ ซึ่งโดยพัฒนาการด้านการรู้คิด ได้รับอิทธิพลมาจากการฝึกอบรมเลี้ยงดู และสิ่งแวดล้อมเป็นสำคัญ อย่างไรก็ตาม ยังมีบุคคลจำนวนหนึ่งที่มีปัญหาด้านการรู้คิด (cognitive dissonance) โดยไม่สามารถเชื่อมโยงสิ่งที่เรียนรู้และประสบการณ์ต่างๆ เพื่อนำมาใช้ได้
ปัจจุบัน การศึกษาค้นคว้าวิจัยทางด้านการรู้คิด มุ่งศึกษาองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับการทำงานของสมองที่ส่งผลต่อการเรียนรู้และพฤติกรรม ครอบคลุม 5 ประเด็น ประกอบด้วย 1) การรับรู้ (perception) 2) ความสนใจ (attention) 3) การจำ (memory) 4) ภาษา (language) และ 5) การคิด (thinking) โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่อง การคิด องค์กรชั้นนำต่างให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก เพราะเป็นสิ่งที่มีความจำเป็นต่อการทำงานและการดำรงชีวิตในสังคมที่มีความหลากหลายและซับซ้อน (complex)
อัตราค่าธรรมเนียมหลักสูตร
ท่านละ 2,990 บาท
วิธีการชำระค่าลงทะเบียน
ชำระโดยวิธีโอนเงินเข้าบัญชีออมทรัพย์
ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) สาขาศูนย์ราชการฯ แจ้งวัฒนะ (อาคาร บี)
ชื่อบัญชี : สถาบันส่งเสริมการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี
เลขที่บัญชี : 955-0-09554-1
ช่องทางติดต่อ
สถาบันส่งเสริมการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี สำนักงาน ก.พ.ร.
ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา เลขที่ 120 อาคารรัฐประศาสนภักดี ชั้น 9
ถนนแจ้งวัฒนะ แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพฯ 10210
หมายเลขโทรศัพท์ 02-141-9021 หรือ 08 4241 5996
LINE Official: @igplearn (https://page.line.me/igplearn)
Facebook Page: IGP Learn (https://www.facebook.com/IGPLearn)